พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ความหมาย

Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce

         อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ

  • การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
  • การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
  • การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
  • บริการ หลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย

บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce

เนื่อง จากการ ทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน
E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่ส ถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปคด้วย

ความปลอดภัยกับ E-Commerce

ระบบ ความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะ เจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง (Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

การชำระเงินบน E-Commerce

จาก ผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต
สำหรับในประเทศไทย… ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer
เพื่อ… สร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้
1. บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของ ลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษา ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตร เครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

  1. รุ่งรวี อาษากิจ ม.6/1 เลขที่ 29

    ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการอะไร

  2. นางสาวปฤษณา พันโบ ม.6/1 เลขที่19

    วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละเท่าใดจึงจะหักบัญชีธนาคาร

  3. นางสาวพรนภา จันทร์เทาว์ ชั้น ม.6/1 เลขที่ 38

    กฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยเร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ มีกี่ฉบับ

  4. นายชัยณรงค์ คบด่านกลาง เลขที่2 ม.6/1

    ความปลอดภัยกับ E-Commerce หมายถึงอะไร

  5. นายเทวา ปัญญาจักษ์ ม.6/1 เลขที่ 4

    E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ โดยมีระดับใดบ้าง

  6. นางสาว เจตฎาพร พุดทรา

    ระบบ ความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคืออะไร

    • นางสาว เจตฎาพร พุดทรา เลขที่34 ชั้นม.6/1

      ระบบ ความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคืออะไร

  7. อุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยอะไรบ้าง?

  8. นางสาวภิรมย์ญา เฮ้ากอก ชั้นม.6/1 เลขที่26

    การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกมากน้อยแค่ไหน

  9. นางสาวนัดกมล กองแก้ว ม. 6/1 เลขที่ 20

    (Certification Authority) หมายถึงอะไร?

  10. นายกฤตยาคม สตารัตน์ เลขที่1 ม.6/1

    การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

  11. นายอำนวย ศรีทอง ชั้น ม.6/1 เลขที่ 6

    มีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่าอะไร

  12. อรอุมา แสนพรม ม.6/1 เลขที่ 31

    ในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละเท่าใด

  13. อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยอะไรบ้าง?

  14. ฉัตรพร ผาดีอุ่น ม.6/1 เลขที่ 28

    E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คืออะไร

  15. นางสาววรันญา สายจันทร์ ชั้นม.6/1 เลขที่22

    จงยกตัวอย่างการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มา3อย่าง

  16. นางสาวพัทรดา ประสงค์ ม.6/1 เลขที่ 42

    ในปัจจุบันการทำธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงโดยใช้อะไร ในการติดต่อทำธุรกิจมากที่สุด

  17. นายศักดินา พรมมาอ้วน เลขที่13 ม.6/1

    กฎหมาย 2 ฉบับแรก มีอะไรบ้าง ??

  18. นางสาวทัศชยา ศรีบุญเรือง ชั้น ม.6/1 เลขที่ 27

    E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คืออะไร

  19. นางสาวกัญญารัตน์ เลื่อมทัยสงค์ ม. 6/1 เลขที่ 24

    กระแสของการตอบรับธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างไร?

  20. น.ส เจนจิรา คงสุข ม.6/1 เลขที่ 35

    จงบอกประโยชน์ของ E-Commerce มีอะไรบ้าง

  21. นาย พงษ์สิทธิ์ แสนพรหม เลขที่3 ม.6/1

    การชำระเงินที่เป็น Micro Payment มีกี่เเบบ ?

  22. นางสาว สุทธิดา ใจเที่ยง ชั้น ม.6/1 เลขที่ 44

    เทคโนโลยีความปลอกภัยมีองค์กรรับรองเรียกว่าอะไร

  23. นาย นัฐพงษ์ ศิริวิเศษ เลขที่12 ม.6/1

    สาระของการติดต่อจะมีกี่ประการ ??

  24. นางสาวลักษะณา กล้าวิเศษ ม. 6/1 เลขที่ 41

    อิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างไร

  25. น.ส. พัชรี ดีเขาพอด ชั้น ม. 6/1 เลขที่ 36

    การชำระเงินที่เป็น Micro Payment โดยการใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

  26. นาย สมพร ศรีชมภู เลขที่8 ม.6/1

    E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมีกี่ประการ คืออะไรบ้าง

  27. นาย กิตติศักดิ์ กองเเก้ว เลขที่11 ม.6/1

    การชำระเงินบน E-Commerce หมายความว่าอย่างไร

  28. นางสาวรัตน์ดา พรหมวาส ม.6/1 เลขที่ 33

    ถ้าไม่มีอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างไร

  29. นาย เจตดิลก นิพรมสมนึก เลขที่16 ม.6/1

    การขายเเตกต่างจากการขนส่งอย่างไร

  30. นาย ปฏิภาณ ด้วงบู่ เลขที่15 ม.6/1

    เงินดิจิทัล คืออะไร

  31. นางสาวศุภกานต์ ตันแพง ม.6/1 เลขที่ 17

    ปัจจุบันอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตคนไทยอย่างไร

  32. นายสุริยา วาประโคน เลขที่9 ชั้นม.6/1

    ระบบการรักษาความปลอดภัย E-Commerce มีอะไรบ้าง?

  33. นางสาวสุมิษา บาเรือน เลขที่10 ชั้นม.6/2

    การชำระเงินบน E-Commerce ทำได้อย่างไร

  34. กาญจนา อาศัย ม.6/2

    E-commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ เช่น ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐฯ สาระของการติดต่อมีกี่ประการ อะไรบ้าง

  35. นางสาว อำภา นาทุม ชั้นม.6/2 เลขที่14

    จุดเด่นของ E-commerce คืออะไร

  36. นางสาว วชิราภรณ์ ธรรมจันทร์ ชั้นม.6/2 เลขที่ 32

    ในประเทศไทยเร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศกี่ฉบับ ???

  37. นางสาว นุจนันท์ พันธุตา ชั้นม.6/2 เลขที่ 35

    Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงอะไร ??

  38. นางสาวพัททรา สุดตา

    นอกจาก การซื้อขายสินค้าและบริหารแล้ว การพานิชอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถทำอะไรได้อีกบ้างค่ะ?

  39. น.ส ณัฐกานต์ พานทองสิม เลขทีุุ่6 ชั้นม.6/2

    การพาณิชอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงอะไร

  40. น.ส กาญจนา วันสีวงษ์ เลขทีุุ่12ชั้นม.6/2

    ระบบ ความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ อะไร

  41. น.ส. ทิพวรรณ จันสด เลขทีุุ่31ชั้นม.6/2

    การติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆอย่างไร

  42. น.ส. ปรารถนา ผางสี เลขทีุุ่34ชั้นม.6/2

    E- commerce สาระของการติดต่อจะมีกี่ประการ??

  43. นางสาวธนัญญา สีสายหยุด เลขที่44 ชั้นม.6/2

    สาระของการติดต่อจะมีกี่ประการ คืออะไรบ้าง

  44. น.ส. นุสรา สั้นจันดา เลขที่4 ชั้นม. 6/2 มิถุนายน 10, 2014 ที่ 17:57 pm

    Electronic Signature หมายถึงอะไร?

  45. นางสาว เนตรพินิจ คงเเสงทอง เลขที่28 ชั้นม.6/2

    การชำระเงินบน E-Commerce จากผลการวิจัยพบว่า ?

  46. น.ส ฉัตรฤทัย สอนสี ม.6/2 เลขที่21

    พานิชอิเล็กทรอนิกส์มีชื่อในภาษาอังกฤษว่าอะไร?

  47. เม็ดพลอย แสนมณี ชั้น ม.6/2

    จดเด่นของ E-commerce คืออะไร

  48. เม็ดพลอย แสนมณี ชั้น ม.6/2

    ในประเทศไทยเร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศกี่ฉบับ

  49. น.ส เจนจิรา พรมมา ชั้น ม.6/2 เลขที่ 7

    อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด่วยอะไรบ้าง

  50. พรนภา กาดำ เลขที่ 33 ม.6/2

    จุดเด่นของ E-commerece คืออะไร

ใส่ความเห็น