สินเชื่อและบัตรเครดิต

สินเชื่อ
สินเชื่อ หมายถึง อำนาจในการเข้าถึงการใช้สินค้าและบริการ โดยสัญญาว่าจะชดใช้คืนในอนาคต โดยสินเชื่ออาจอยู่ในรูปของสินค้าและบริการ หรือในรูปของเงินก็ได้ เนื่องจากในทางเศรษฐศาสตร์มองว่าหน่วยเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจนั้นอาจมี ลักษณะการใช้ทรัพยากรที่ไม่สมดุลกัน บางหน่วยเศรษฐกิจอาจมีความต้องการใช้สินค้าและบริการมากกว่าทรัพยากรที่ตนมี อยู่ในปัจจุบัน ขณะที่บางหน่วยเศรษฐกิจอาจมีทรัพยากรเหลือใช้เกินความต้องการ หากมีการโอนทรัพยากรส่วนที่เหลือใช้ไปให้ผู้ที่มีความต้องการใช้ก็จะก่อให้ เกิดประโยชน์ ทางกฎหมายเรียกหน่วยเศรษฐกิจที่เป็นผู้รับทรัพยากรนั้นว่าลูกหนี้ และเรียกหน่วยเศรษฐกิจที่เป็นผู้ให้ยืมทรัพยากรนั้นว่าเป็นเจ้าหนี้หรือผู้ ให้สินเชื่อสินเชื่อมีส่วนทำให้อุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ สมมติกรณีเศรษฐกิจแบบปิด หากปัจจัยการผลิตได้รับรายได้จากการผลิต ส่วนหนึ่งนำไปใช้จ่ายเพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เกิดการผลิตและรายได้แก่ปัจจัยการผลิตต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่เงินอีกส่วนหนึ่งกลายเป็นเงินออมซึ่งเป็นส่วนรั่วไหลออกจากระบบ เนื่องจากไม่ได้ถูกนำไปใช้จ่าย หากเป็นเช่นนี้ในที่สุด รายได้หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมก็จะลดลง เพราะมีแต่ส่วนรั่วไหลออกจากเศรษฐกิจ ภาคสินเชื่อจึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยอัดฉีดเงินเหล่านี้กลับเข้าสู่ระบบ ผ่านตลาดสินเชื่อ ซึ่งเป็นการนำเงินออมกลับออกมาใช้จ่ายใหม่ โดยอาจอยู่ในรูปของการให้กู้แก่รัฐบาลผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือการให้สินเชื่อแก่ประชาชนเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หากสมมติให้ปัจจัยอื่นคงที่ สินเชื่อในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มอุปสงค์มวลรวม ทำให้เกิดแรงกดดันต่อราคาเพิ่มขึ้นหรือเกิดเงินเฟ้อได้ แต่หากเป็นการให้สินเชื่อเพื่อนำไปลงทุนในการผลิตซึ่งมีผลิตภาพ (Productivity) สูง อาจทำให้อุปทานมวลรวมเกิดการขยายตัวสอดรับกับอุปสงค์มวลรวมที่เพิ่มขึ้นเป็น ผลให้ภาวะเงินเฟ้อไม่เกิดขึ้น หรืออาจถึงขั้นเกิดภาวะเงินฝืดก็เป็นได้
ที่มา: http://www.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO31.htm

การจำแนกประเภทสินเชื่อ

          การจำแนกประเภทสินเชื่อ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้ คือ

ก. วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ

สินเชื่อเพื่อการเกษตร, สินเชื่อเพื่อการบริการ, สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค

ข. ระยะเวลาของการชำระคืน

เผื่อเรียก (Call) เหมาะสมสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการใช้เงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างสูงและมี สภาพคล่องสูง เช่นธุรกิจน้ำมัน ซึ่งมีข้อดีคือถ้าธุรกิจมีความน่าเชื่อถือดีอัตราดอกเบี้ยจะต่ำมาก

ระยะสั้น (Short Tem) ระยะเวลาในการผ่อนชำระจะน้อยกว่า 1 ปี

ระยะกลาง(Intermediate Tem) ระยะเวลาการผ่อนชำระจะอยู่ในช่วง 1,3 หรือ 5 ปี

ระยะยาว(Long Tem) ระยะเวลาในการผ่อนชำระมากกว่า 5 ปี

ค. การมีหลักประกัน

สินเชื่อที่มีหลักประกัน เป็นสินเชื่อที่มีการนำทรัพย์สินมาจำนองและ/หรือจำนำเป็นหลักประกันรวมทั้ง การนำบุคคลมาค้ำประกัน โดยที่ถ้าไม่สามารถชำระเงินคืนได้แล้ว เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องสิทธิจากหลักประกันมาชำระหนี้คืนได้

สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน มักเป็นสินเชื่อให้กับผู้ที่มีฐานะการเงินดี, ผลประกอบการดี และมีประวัติการติดต่อกับเจ้าหนี้มาเป็นเวลานาน

สินเชื่อสามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท หลายลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ แต่อาจจะสรุปออกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้ คือ

1. ตามลักษณะของผู้ใช้สินเชื่อ

2. ตามลักษณะรูปแบบการให้บริการ

3. ตามลักษณะการชำระคืน

4. ตามลักษณะของแหล่งที่มาสินเชื่อ

5. ตามระยะเวลาในการให้สินเชื่อ

6. ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้

7. ตามหลักประกัน

บัตรเครดิตคืออะไร และแตกต่างจากบัตรเดบิตอย่างไร?

บัตรเครดิต คือ บัตรที่เราได้รับวงเงินอนุมัติจากธนาคาร ซึ่งเราสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าได้ภายในวงเงินที่ได้รับ โดยไม่จำเป็นจะต้องมีเงินอยู่ในบัญชี หรือฝากไว้อยู่ในบัตรเลยก็ตาม แล้วจึงค่อยชำระเงินในภายหลังตามรอบบัญชีแต่ละเดือน ซึ่งแตกต่างกับบัตรเดบิตตรงที่ เราต้องมีเงินในบัญชีก่อน ถึงจะใช้รูดซื้อสินค้าได้ ไม่เช่นนั้น จะรูดไม่ผ่าน
นอกจากนี้ บัตรเครดิตนี้ก็สามารถนำมากดเงินสดได้เช่นเดียวกับบัตรเดบิต แต่จะโดนคิดดอกเบี้ยทันทีที่กดเงินมาใช้ ซึ่งเราไม่นิยมใช้กดกัน เพราะว่าดอกเบี้ยสูงถึงประมาณ 25-28% ในขณะที่บัตรเดบิตให้ใช้กดเงินสดที่มีอยู่แล้วในบัญชีออกมาใช้โดยไม่เสียค่า ธรรมเนียมใดๆหากกดที่ตู้ของธนาคารเดียวกัน
ในการใช้บัตรเครดิตนั้น หากเราชำระบัตรเครดิตตรงตามกำหนดทุกงวด การใช้บัตรเครดิตก็จะไม่เป็นปัญหาสำหรับเรา แต่ด้วยความสะดวกในการรูดซื้อสินค้าอาจส่งผลให้เราใช้จ่ายเกินตัว และไม่สามารถชำระ “หนี้” ได้ทัน ก็จำต้องจ่ายดอกเบี้ยตามข้อเสนอของธนาคาร โดยชำระขั้นต่ำเพียง 10% และจ่ายดอกเบี้ยอีกประมาณ 20% ต่อปี นี่คือสาเหตุที่ธนาคารพยายามเชิญชวน (ยัดเยียด) ให้เราใช้บัตรเครดิต บ้างก็ส่งบัตรมาให้ใช้ถึงที่บ้าน เพียงแค่โทรไปเปิดบัตร ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

สิทธิประโยชน์ต่างๆ และข้อดีของบัตรเครดิต
1. มีสิทธิประโยชน์ที่จูงใจผู้ใช้ในหลายหลายรูปแบบ เช่น
– ได้เงินคืน (Cash Back) เงินเครดิตคืนเข้าบัตรในภายหลัง
– ได้ส่วนลด (Discount)  ได้ส่วนลดทันที ณ ที่จ่าย
– สะสมคะแนน (Point Reward) สามารถนำไปแลกของหรือคูปองแลกซื้อสินค้าได้อีก
– สามารถแบ่งจ่าย (Pay Lite) เช่น ชำระ 0% 10 เดือน ฯลฯ
2. พกง่าย ขอแค่จำลายเซนต์ได้ก็พอ และไม่ต้องพกเงินสดติดตัวเป็นจำนวนมาก (บัตรเดบิตก็ทำได้ หากคุณมีเงินในบัญชีพอ)
3. สามารถซื้อสินค้ามาครอบครองได้เลย โดยไม่ต้องจ่ายเงินในทันที  และมีโอกาสนำเงินจำนวนนั้นๆไปลงทุนระยะสั้นหรือเก็งกำไรอย่างอื่นได้
4. สามารถใช้ชำระค่าสาธารณูปโภค และค่าบริการอื่นๆได้ หรือจะหักจ่ายตามรอบบิล Smart Billing ได้อีกด้วย (ข้อนี้สะดวกมากสำหรับคนที่ไม่มีเวลาไปตามจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ฯลฯ) รวมทั้งสามารถใช้ซื้อของออนไลน์ผ่านเพย์สบาย (Paysbuy) หรือ เพย์พอล (Paypal) นั่นเอง
5. มีไว้เท่ห์ๆ หรืออวดฐานะ จากประเภทบัตร เช่น บัตรโกล์ด บัตรแพลตตินัม บัตรอีลิท ฯลฯ (สำหรับพวกวัตถุนิยม)

ข้อเสียของการใช้บัตรเครดิต

1. เพิ่มหนี้สินให้ตัวเอง และสร้างความกังวลในการชำระหนี้ในภายหลัง ว่าจะครบกำหนดชำระเมื่อไหร่ ยอดจำนวนเท่าไหร่ เป็นต้น
2. หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดหรือไม่ได้ชำระเต็มจำนวน จะมีค่าปรับ + ดอกเบี้ย ให้ต้องชำระเพิ่มอีก
3. ดอกเบี้ยสูง เป็นภาระหนี้เพิ่ม นอกจากจะต้องชำระหนี้เงินต้นแล้วยังมีดอกเพิ่มให้ปวดหัว
4. สร้างความเคยตัวในการใช้เงิน เพิ่มความฟุ่มเฟือยในชีวิตประจำวัน

วิธีการเลือกใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด
หากไม่อยากให้บัตรเครดิตมาครอบงำเราได้ เรามีวิธีใช้บัตรเครดิตมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด (เราจะขอยกตัวอย่างบัตรขึ้นมา อาจมีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขของแต่ละบัตร ตามวันและเวลาที่เปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร แต่ข้อมูลที่กล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการใช้บัตรของผู้เขียน – ถึงวันที่ 7 ม.ค. 2555)

  1. ศึกษาโปรโมชั่นและเงื่อนไขต่างๆของแต่ละบัตรก่อนสมัคร และเลือกใช้บัตรที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเรา *โปรดพิจารณาเรื่องระยะเวลาของโปรโมชั่น บาง บัตรเสนอโปรโมชั่นพิเศษสุดๆ แต่อยู่ได้แค่ 3 เดือน หลังจากนั้น เราใช้รูดไปตั้งเยอะ มารู้ตัวอีกที ก็ตอนที่เห็นใบแจ้งยอดแล้วว่าไม่ได้เงินคืน  เราขอยกตัวอย่างการเลือกบัตรเครดิตดังนี้
    • หากเราบินสายการบินไทยบ่อยๆ เลือก บัตร KTC Royal Orchid Plus เพื่อสะสมไมล์แลกซื้อตั๋วบิน
    • หากเราช้อปปิ้งที่เซ็นทรัลบ่อยๆ เลือก บัตร Central Card ลด 5% เมื่อซื้อสินค้าในตัวห้างฯ
    • หากเราช้อปปิ้งที่พารากอน เดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม เลือก บัตร Citi M Visa  ลด 5% เมื่อซื้อสินค้าในตัวห้างฯ ฯลฯ
    • หากเราเติมน้ำมันบ่อยๆ เลือกบัตรที่มี cash back ที่คืนเงินให้สูงๆ เช่น บัตร SCBT (Standard Chartered) 4-7% ทุกๆ800บาท บัตรธนชาติ ไดร์ฟ หรือ บัตร Central Card 5% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบัตรและระยะเวลาของโปรโมชั่น รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้ที่
    • หากเราจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ เองอยู่แล้วด้วยบัตร เลือกบัตรกสิกรไทย สามารถสะสมคะแนนให้การชำระค่าสาธารนูปโภคด้วย (บัตรส่วนใหญ่ไม่สะสมให้)
    • ฯลฯ
  2. ระวังค่าธรรมเนียมรายปี ส่วนใหญ่จะได้สิทธิ์ฟรีค่าธรรมเนียมปีแรก ในปีถัดไปต้องมีการใช้จ่ายรายเดือน/รายปีครบตามที่ธนาคารกำหนด แต่หากใช้จ่ายไม่ถึงจริงๆ ก็สามารถโทรไปขอละเว้นค่าธรรมเนียมรายปีได้เมื่อครบปี (แต่พอถึงเวลา ใครจะมานั่งจำว่าครบปีแล้ว จึงควรพยายามหลีกเลี่ยงบัตรที่มีค่าธรรมเนียมรายปี ดีที่สุด)
  3. จดบันทึกสิ่งสำคัญหลักๆของบัญชีบัตรเครดิต เมื่อได้บัตรที่ถูกใจ แล้วก็ควรจดบันทึกหรือเก็บบิลรายเดือนไว้ เพื่อใช้ดูและติดตามชำระบัตรในแต่ละรอบบิล สิ่งสำคัญดังกล่าว ได้แก่ วันตัดรอบบิล(Cut-off Date) วันครบกำหนดชำระ (Payment Due Date) วงเงินบัตรเครดิต (Credit Line) หรืออาจจะดูดอกเบี้ย (Interest Rate) ดูเผื่อไว้ กันพลาด ส่วนใหญ่ธนาคารจะให้เครดิตระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยสูงสุดถึง 45-55 วัน หรือนับเป็น 15-25 วันนับจากวันตัดยอดบิล
    • KTC, กสิกร, กรุงเทพ, Citibank 15 วัน
    • Central Card 20 วัน
    • SCBT (Standard Chartered) 25 วัน
  4. วางแผนรายรับรายจ่าย เมื่อทราบวันครบกำหนดชำระแล้ว ก็วางแผนรายรับรายจ่ายของตนเอง เพื่อให้เหลือเงินเพียงพอมาชำระหนี้ภายในวันที่กำหนด เท่านี้ก็จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองในภายหลัง
    เพื่อให้มั่นใจว่าเราไม่ลืมชำระบัตรทุกงวด เราสามารถชำระบัตรเครดิตโดยหักจากบัญชีได้ (Direct Debit) ควรเปิดบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารเดียวกันกับบัตร เพื่อไม่ให้เสียค่าธรรมเนียมในการหักผ่านบัญชี บางบัตรสามารถหักจากบัญชีของ ธนาคารอื่นได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เช่น บัตร Citibank สามารถหักบัญชีธนาคารกสิกร กรุงเทพ กรุงศรีอยุธยา และไทยพาณิชย์ ได้
    วิธีนี้ บางท่านที่กลัวว่ารายจ่ายจะไม่ได้อยู่ในการควบคุม หมั่นนำสมุดคู่ฝาก (Passbook) ไปอัพเดทบ่อยๆ เพื่อตรวจดูความเคลื่อนไหว ซึ่งเดี๋ยวนี้สามารถเช็คผ่านทาง Online Banking หรือ Telephone Banking ได้แล้ว
  5. ใช้บัตรให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการ เมื่อถึงคราวหยิบบัตรออกจากกระเป๋าสตางค์เพื่อใช้รูดซื้อสินค้าและบริการ อย่าลืมสังเกตุว่าสินค้านั้นๆอยู่ในรายการโปรโมชั่นที่จัดร่วมกับบัตรเครดิต ที่เราถืออยู่ใช่หรือไม่
    • หากใช่ => ก็ตรวจดูเงื่อนไขในการใช้ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าเราเล่นเกมตรงตามกติกาแล้วนะ เธอทำอะไรชั้นไม่ได้หรอก หึหึหึ!!
    • หากไม่ใช่ => ก็ไม่เป็นไร หยิบบัตรใบที่เราใช้บ่อยที่สุดขึ้นมาใช้ (เพราะยังไงเดือนนี้ ชั้นก็ต้องไปชำระบัตรใบนี้อยู่แล้ว) หรือบัตรใบที่คิดว่าสะสมคะแนนได้ดีที่สุด เพราะแต่ละธนาคาร ของรางวัลหรือบัตรกำนันที่เสนอนั้นคล้ายๆกันหมด เลือกเอาตามอัธยาศัยเลยจ้า
  1. นายสุริยา วาประโคน เลขที่9 ชั้นม.6/1

    บัตรเดบิตคืออะไร?

  2. นายกฤตยาคม สตารัตน์

    ข้อจำกัดของบัตรเครดิต มีอะไรบ้างคับ แล้ว มีข้อดีอะไรบ้างคับ

  3. น.ส ปิยพร ดำทา เลขที่ 30 ชั้นม.6/2

    ระบบพื้นฐานทั่วไปประกอบด้วยระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ใช่หรือไม่

  4. นางสาวธัญพิชชา กองคำ เลขที่ 13 ม.6/2

    หากไม่อยากให้บัตรเครดิตมาครอบงำเราได้ เรามีวิธีใช้บัตรเครดิตมาให้เกิดประโยชน์อย่างไร

  5. น.ส. ทิพวรรณ จันสด ม.6/2 เลขที่31

    ข้อเสียของการใช้บัตรเครดิตมีอะไรบ้าง

  6. น.ส. รัชนีกร บุญไชยะ

    การจำแนกประเภทสินเชื่อ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อะไรบ้าง

  7. น.ส ภัทรสุดา ลุนคำโต เลขที่ 8 ชั้นม.6/2

    ผลการสำรวจพบว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งสินค้าขนอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยร้อยละเท่าใด

  8. น.ส. รัชนีกร บุญไชยะ ม.6/2 เลขที่19

  9. น.ส. กาญจนา วันสีวงษ์ ม.6/2 เลขที่12

    สิทธิประโยชน์ที่จูงใจผู้ใช้ในหลายหลายรูปแบบ เช่น อะไรบ้าง

  10. นางสาวปรารถนา ผางสี เลขที่ 34 ชั้นม.6/2

    สิทธิประโยชน์ต่างๆและข้อดีของบัตรเครดิดเป็นแบบใด??

  11. นางสาว ณัฐทลิน๊ย์ วุฒิ ม.6/2 เลขที่18

    บัตรเครดิตคืออะไรและแตกต่างจากบัตรเดบิตอย่างไร ?

  12. น.ส.ณัฐกานต์ พานทองสิม ม.6/2 เลขที่ 6

    ข้อเสียของการใช้บัตรเครดิตมีอะไรบ้่าง??

  13. น.ส. รัชนีกร บุญไชยะ ม.6/2 เลขที่19

    สินเชื่อเผื่อเรียก เหมาะสมสำหรับธุรกิจ แบบใด

  14. น.ส.พรธิภา สีละออง ชั้นม.6/2 เลขที่ 40

    ในอนาคตข้างหน้าถ้ามีการใช้บัตรเครดิตที่ไม่ถูกวิธีจะเกิดอะไรขึ้น

  15. น.ส.เนตรพินิจ คงแสงทอง ชั้นม.6/2 เลขที่28

    วิธีการเลือกใช้บัตรเครดิตอย่างฉลาดควรปฏิบัติอย่างไร

  16. กิตติยา พิมพ์กา เลขที่ 26 ม.6/2

    หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดหรือไม่ได้ชำระเต็มจำนวนจะได้บวกค่าอะไรเพิ่ม ?

  17. น.ส.ศิวพร ศรีบุษย์ ม.6/2 เลขที่ 42

    เราสามารถสมัครบัตรเครดิตได้ที่ไหน

  18. นางสาว กาญจนา อาศัย

    ข้อเสียของการใช้บัตรเครดิตมีอะไรบ้าง

  19. นางสาว พักตร์พิมล สายสี ม.6/2 เลขที่ 41

    หากเราบินสายการบินไทยบ่อยๆ ต้องเลือกใช้บัตรแบบใด ?

  20. นายสุทธิพงษ์ เกษร ม.6/2 เลขที่ 1

    วิธีการเลือกใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดมีวิธีใดบ้าง

  21. นางสาว กาญจนา อาศัย

    สินเชื่อสามารถจำเเนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง

  22. น.ส.ภัทรสุดา ลุนคำโต เลขที่ 8 ชั้น ม.6/2

    ข้อเสียของบัตรเครดิตมีทั้งหมดกี่ข้อ อะไรบ้าง

  23. น.ส ปิยพร ดำทา เลขที่ 30 ชั้นม.6/2

    การวางแผนรายรับรายจ่ายในการใช้บัตรเครดิตทำให้เราทราบถึงอะไรบ้าง

  24. น.ส. จุรีรัตน์ อาจทอง ม.6/2 เลขที่17

    สิทธิประโยชน์ต่างๆ และข้อดีของบัตรเครดิตมีอะไรบ้าง

  25. นางสาว อำภา นาทุม ชั้นม.6/2 เลขที่14

    สิทธิประโยชน์ที่จูงใจผู้ใช้ในหลายรูปแบบเช่นอะไรบ้าง

  26. นางสาวรุ่งทิพย์ จำปานิล เลขที่ 27 ม 6/2

    บัตรเครดิตมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่อชีวิตประจำวัน

  27. น.ส สุภาพร ที่พักบ้านโจด ม6/2 เลขที่ 38

    หากเราเติมน้ำมันบ่อยๆๆ ควรเลือกใช้บัตรใด?

  28. นางสาว วชิราภรณ์ ธรรมจันทร์ ม.6/2 เลขที่32

    สินเชื่อหมายถึงอะไร

  29. นางสาว นุจนันท์ พันธุตา ชั้นม.6/2 เลขที่35

    สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันมักเป็นสินเชื่อให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติแบบใด

  30. น.ส เจนจิรา พรมมา ชั้น ม.6/2 เลขที่ 7

    ระยะยาว(Long Tem)ระยะเวลากมารผ่อนชำระมากกี่ปี

  31. นางสาว ปริมประภา แสงนาค เลขที่15 ม.6/2

    หากมีการโอนทรัพยากรส่วนที่เหลือใช้ไปให้ผู้ที่มีความต้องการใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางใด

  32. น.ส ฉัตรฤทัย สอนสี ม.6/2 เลขที่21

    จงยกตัวอย่างข้อดีของสินเชื่อมา3 ตัวอย่าง?

  33. เม็ดพลอย แสนมณี ชั้น ม.6/2

    หากเราช้อปปิ้งที่เซ็นทรัลบ่อยๆควรเลือกบัตรอะไร

  34. น.ส.กนกวรรณ ธนะสูตร ชั้น ม.6/2 เลขที่ 43

    ส่วนใหญ่ธนาคารจะให้เครดิตระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยสูงสุดกี่วัน ?

  35. น.ส โยธกา. ประสงค์ เลขที่37 ม.6/2

    ผลกระทบจากการใช้บัตรเครดิตมีอะไรบ้าง

  36. น.ส. พัททรา สุดตา ม. 6/2 เลขที่ 25

    ค่าธรรมเนียมรายปี คืออะไรค่ะ

  37. น.ส ปภัสสร แก้วปัญญา เลขที่ 36 ม.6/2

    สินเชื่อที่มีหลักประกัน และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันแตกต่างกันอย่างไร

  38. พัชญา ราชพัฒน์ เลขที่ 11 ชั้น ม.6/2

    สิทธิประโยชน์ต่างๆมีอะไรบ้าง ?

  39. น.ส.ธนัญญา สีสายหยุด เลขที่44 ชั้น ม.6/2

    สินเชื่อและบัตรเครดิตที่ใช้ระยะเวลาผ่อนชำระมากกว่า5ปีคือผ่อนชำระประเภทใด

  40. นางสาวสุมิษา บาเรือน เลขที่10 ชั้นม.6/2

    การใช้บัตรให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการหมายความว่าอย่างไร

  41. พรนภา กาดำ เลขที่ 33 ม.6/2

    ระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินยาวมีมากตั้งแต่กี่ปีขึ้นไป

  42. ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา.

    นี่คือการโฆษณาออนไลน์จากเงิน / เงินให้กู้ยืมที่ บริษัท เอกชน คุณจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชำระค่าของคุณซื้อบ้านกู้เงินเพื่อขยายธุรกิจเงินกู้ของคุณสำหรับการลงทุน เราให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลไปยังบุคคลที่ บริษัท ธุรกิจและผู้หญิง

    ที่จะนำมาใช้และได้รับเงินกู้ในวันนี้กรุณาติดต่อเราตอนนี้ผ่านทางที่อยู่อีเมลที่อย่างเป็นทางการของเราด้านล่างสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ขอบคุณ

    อีเมล์: urgentloans01@hotmail.com

    ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา.

ใส่ความเห็น